วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมที่ 5 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับล่าสุด (พ.ศ. 2558)


พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับล่าสุด 
(พ.ศ. 2558)


            ประการแรก มาดูเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ก่อนว่า ละเมิดลิขสิทธ์คืออะไร ตามภาพนี้ก็คือ การนำเอาภาพ บทความ คลิป หรือสิ่งต่างๆ ที่เป็นผลงานของคนอื่นมา ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข และเผยต่อสาธารณชน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อน (หมายความว่า ถ้าได้รับการอนุญาตก็ไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์)

บทลงโทษ ค่อนข้างแรง ค่าปรับสูง โดยเฉพาะถ้าเอาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ก็จะยิ่งสูงขึ้น


             นี่คือคำตอบของคนที่ใช้ Facebook บ่อยๆ แชร์ไปเถอะถ้าเราไม่ได้นำไปทำธุรกิจ หรือขายสินค้า แต่ต้องบอกที่มาที่ไปหน่อยนะครับว่า รูป บทความ ของใครจากไหน


             เรื่องการแปะคลิป เช่น ใน Youtube ต้องดูว่าเขาอนุญาตหรือไม่ ทางที่ดี ขออนุญาตก่อน หรือไม่ก็ capture รูปมาลงแล้วใส่ลิงค์ไปที่คลิปเขาจะดีกว่า


ถ้าเป็นคลิปจาก Facebook เอาไปแชร์ก็ต้องให้เครดิต


             สำหรับเนื้อหาที่แปลจากต่างประเทศ ถ้าเป็นข่าว ไม่ผิด แต่ถ้าเป็นบทความ แปลคำต่อคำ ถือว่าผิด แต่เรียบเรียงใหม่ไม่ผิด และเขียนใน บล็อกส่วนตัว ไม่มีแบนเนอร์ไม่ผิด แต่ถ้าติดแบนเนอร์ มีรายได้ ถือว่าใช้ในเชิงพาณิชย์ถือว่าผิด



สื่อการสอน พรบ.ลิขสิทธิ์ 2558



Social Biz : สาระสำคัญ 
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ใหม่ 2558 (4 ส.ค. 58)


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://talk.mthai.com/topic/426185

กิจกรรมที่ 3 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์


          1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
          2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
          3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน
          4. การลงมือทำโครงงาน
          5. การเขียนรายงาน
          6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน

1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ 

          โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว ปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ กัน ดังนี้
          1. การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่างๆ
          2. การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
          3. การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนนักเรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ
          4. กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
          5. งานอดิเรกของนักเรียน
          6. การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์
ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
          1. ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
          2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
          3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
          4. มีเวลาเพียงพอ
          5. มีงบประมาณเพียงพอ
          6. มีความปลอดภัย

2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล 

          การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า
          1. จะทำ อะไร
          2. ทำไมต้องทำ
          3. ต้องการให้เกิดอะไร
          4. ทำอย่างไร
          5. ใช้ทรัพยากรอะไร
          6. ทำกับใคร
          7. เสนอผลอย่างไร

3. องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน 



รายงานรายละเอียดที่ต้องระบุ
ชื่อโครงงานทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร
ประเภทโครงงานวิเคราะห์จากลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้
ชื่อผู้จัดทำโครงงานผู้รับผิดชอบโครงงาน อาจเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มก็ได้
ครูที่ปรึกษาโครงงานครู-อาจารย์ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา และควบคุมการทำโครงงานของนักเรียน
ครูที่ปรึกษาร่วมครู-อาจารย์ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาร่วม ให้คำแนะนำในการทำโครงงานของนัีกเรียน
ระยะเวลาดำเนินงานระยะเวลาการดำเนินงานโครงงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด กำหนดเป็นวัน หรือ เดือนก็ได้
แนวคิด ที่มา และความสำคัญสภาพปัจจุบันที่เป็นความต้องการและความคาดหวังที่จะเกิดผล
วัตถุประสงค์สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงานทั้งในเชิงกระบวนการ และผลผลิต
หลักการและทฤษฎี  หลักการและทฤษฎีที่นำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน
วิธีดำเนินงาน กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และผู้ัรับผิดชอบ
ขั้นตอนการปฏิบัติ  วัน เวลา และกิจกรรมดำเนินการต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ สภาพของผลที่ต้องการให้เกิด ทั้งที่เป็นผลผลิต กระบวนการ และผลกระทบ
เอกสารอ้างอิงสื่อเอกสาร ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ ที่นำมาใช้ในการดำเนินงาน

 4. การลงมือทำโครงงาน 

          เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้
     4.1 การเตรียมการ
          การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ
     4.2 การลงมือพัฒนา
          1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น
          2. จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆ ให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่่อยทำ ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
          3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน
     4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข
          การตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการ ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย
     4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ
          เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน และทำการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำ ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย
     4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
          เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญ หรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้ 

5. การเขียนรายงาน 



          การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้
     5.1 ส่วนนำ
          ส่วนนำ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำขอบคุณ เป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทำให้โครงงานสำเร็จ
          5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ
     5.2 บทนำ
          บทนำเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
          1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          2. เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า
          3. ขอบเขตของโครงงาน
     5.3 หลักการและทฤษฎี
          หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย
     5.4 วิธีดำเนินการ
          วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน
     5.5 ผลการศึกษา
          ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก
     5.6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
          สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำ งาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำ ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญ หรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำ โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย
     5.7 ประโยชน์
          ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย
     5.8 บรรณานุกรม
          บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำ โครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำ โครงงานนี้การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย
     5.9 การจัดทำคู่มือการใช้งาน
          หาโครงงานที่นักเรียนจัดทำ เป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อผลงาน
          2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้
          3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
          4. คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำ หน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วนอะไรออกมาเป็นข้อมูลขาออก
          5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำงานในฟังก์ชันหนึ่งๆ  


6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน 



          การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด เป็นต้น โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          5. วิธีการดำเนินการที่สำคัญ
          6. การสาธิตผลงาน
          7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : 

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมที่ 2 ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์


ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท






1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media Development) 

          เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามพร้อมคำตอบ ซึ่งอาจพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้  ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยากมาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

ตัวอย่างโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

1.1  โปรแกรม ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต 




ผู้พัฒนา นายเทพ รัตนเรืองจำรูญ และนายพงศกร พันธุ์พงษ์สิทธิ์ 
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์สโรชา สายเนตร 
สถานศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัญ


1.2 โปรแกรมสำนวนไทยพาสนุก 




          ผู้พัฒนา ด.ญ.จิราพร แจ้งไพร และ ด.ญ.กนิษฐา สุริเมือง 
          อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์วิรุบล จันตา    
          สถานศึกษา โรงเรียนภัทรวิทยา จ.ตาก


1.3 โปรแกรมสนุกไปกับตารางธาตุ




          ผู้พัฒนา  ด.ญ.วริศรา พรหมมณี และ  ด.ญ.กมลวรรณ ทองงาน 
          อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ทัศนีย์ ระลึกมูล 
          สถานศึกษา โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จ.พิษณุโลก




2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)

          โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือช่วยสร้างงานประยุกต์ต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปซอฟต์แวร์   

ตัวอย่างโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา 

2.1 ซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งาน

          สร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลค่า ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้ในการพิมพ์งานต่างๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ 





2.2 ซอฟต์แวร์การวาดรูป

          พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก ให้การวาดรูปบนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปได้โดยง่าย





2.3 ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ

          ใช้สำหรับช่วยการออกแบบสิ่งของ อาทิเช่น ผู้ใช้วาดแจกันด้านหน้า และต้องการจะดูว่า ด้านบนและด้านข้างเป็นอย่างไร ก็ให้ซอฟต์แวร์คำนวณค่าและภาพที่ควรจะเป็นมาให้ เพื่อพิจารณาและแก้ไข ภาพแจกันที่ออกแบบไว้ได้อย่างสะดวก






3. โครงงานจำลองทฤษฏี (Theory Simulation) 

          โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยในการจำลองการทดลองของสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นงานที่ไม่สามารถทดลองด้วยสถานการณ์จริงได้ เช่น การจุด ระเบิด เป็นต้น และเป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษาแล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการหรือคำอธิบาย พร้อมทั้งการจำลองทฤษฏีด้วยคอมพิวเตอร์ให้ออกมาเป็นภาพ ภาพที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปตามสูตรหรือสมการนั้น ซึ่งจะ ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

3.1  การทดลองเรื่องการไหลของของเหลว





3.2 การทดลองเรื่องการมองเห็นวัตถุแบบสามมิติ







4. โครงงานประยุกต์ใช้งาน (Application) 

          โครงงานประยุกต์ใช้งานเป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงาน เพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและ ตกแต่งภายในอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี และซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอย ต่างๆ ซึ่งอาจเป็นการคิดสร้างสิ่งของขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการ ของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้นๆ ต่อจากนั้น ต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพ ของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้ผู้เรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่างๆ ที่
เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

4.1 โปรแกรม สารบรรณสำเร็จรูป : Readymade Archivist 




ผู้พัฒนา น.ส.คณิตา ดวงแจ่มกาญจน์ และ นายปิฐิพงศ์ กันทะวงศ์ 
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์วัชระ การสมพจน์ 
สถานศึกษา โรงเรียนพะเยาพิทยาคม


4.2 โปรแกรมระบบฐานข้อมูลทางการแพทย์เบื้องต้น




 ผู้พัฒนา น.ส.ปานชีวัน ฤกษ์สมบูรณ์ นายทวีธรรม ลิมปานุภาพ และ  นายปัถย์ศักดิ์ธนากูล 
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์เลาขวัญ งามประสิทธิ์ 
สถานศึกษา โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์





5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)

          โครงงานพัฒนาเกมเป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมทายคำศัพท์ และเกมการคำนวณเลข เป็นต้น ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกความคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจแก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนา ขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่างๆ

ตัวอย่างโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

5.1 โปรแกรมเกมเพื่อความบันเทิง War of Oracle 



ผู้พัฒนา นายปรัชญา ไพศาลวิภัชพงศ์ นายณัชฌา พาณิชย์ชะวงศ์  นายสรรศิลป์ ตั้งนิรันดร์กุล 
อาจารย์ที่ปรึกษา นายคมณัษฐ์ แซ่เฮ้ง
 สถานศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญ


5.2 โปรแกรมต่อให้เพิ่ม เติมให้เต็ม (Magic Puzzle)




 ผู้พัฒนา นายสันติ สุรมิตรไมตรี 
อาจารย์ที่ปรึกษา นายชนารัตน์ คาอ่อน 
สถานศึกษา โรงเรียนระยองวิทยาคม






ขอบคุณที่มาจาก : http://61.7.229.101/web_pcccr/L-krunok/project1.pdf

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมที่ 1 ความหมาย ความสำคัญและขอบข่ายของโครงงานคอมพิวเตอร์


โครงงานคอมพิวเตอร์


Cr : http://www.kjn.ac.th/wordpress/srisakul/wp-content/uploads/2014/07/intro.jpg



ความหมายของ
โครงงานคอมพิวเตอร์ 


          โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ กิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ทำให้นักเรียนมีอิสระทางความคิด ทางการศึกษาปัญหาและสิ่งต่างๆ ที่ตนเองสนใจ โดยนักเรียนต้องมีการวางแผนการศึกษาและดำเนินงานของตนเอง ตามกระบวนการ ศึกษาโครงงาน และทำการลงมือพัฒนาโปรแกรมต่างๆ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม คอมพิวเตอร์ และวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆที่จะสามารถนำมาใช้ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน

          เรื่องที่นักเรียนมีความสนใจ ซึ่งเรื่องที่ศึกษาหรือพัฒนาอาจจะมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่ได้ถูกการพัฒนาจากผู้พัฒนาอื่นมาแล้ว นักเรียนก็ยังสามารถที่จะทำ โครงงานดังกล่าวได้ แต่ต้องมีการคิดดัดแปลงแนวทางในการดำเนินการศึกษา การพัฒนา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจาก ที่ผู้ศึกษาเดิมได้ให้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนาต่อไว้





ความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์

value

1. สร้างความสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาและพัฒนาระบบด้วยตนเอง
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ในเรื่องที่นักเรียนสนใจได้ลึกซึ้งกว่าการเรียนในห้องตามปกติ
4. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน
5. กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิชาสาขาคอมพิวเตอร์ และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางด้านนี้
6. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
7. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสนใจคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
8. เป็นการบูรณาการเอาความรู้จากวิชาต่างๆ ที่ได้รับมาจัดทำผสมผสานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นโครงงานเพื่อนำเสนอต่อชุมชน




ความรู้เบื้องต้น
เกี่ยวกับโครงงานคอมพิวเตอร์



ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 6 ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ


ความรู้เบื้องต้น
กับการสอบ 7 วิชสามัญ
(ข้อสอบย้อนหลังมีด้านล่างนะครับ)



7 วิชาสามัญ คืออะไร และต้องสอบทั้ง 7 วิชาเลยไหม

               สทศ. บอกมาว่าเป็นข้อสอบที่ยากกว่า O-NET แต่ง่ายกว่า GAT PAT จัดทำขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาในอดีตที่สมัยก่อนหากเด็ก ม.6 สมัครรับตรง 5 ที่ ก็ต้องวิ่งหัวฟูไปสอบ 5 ครั้ง แต่หากเป็นปีนี้สบายมาก ไม่ว่าจะสมัครกี่ที่ ก็สอบแค่ครั้งเดียวจบ คือ สอบ 7 วิชาสามัญครั้งเดียว ชุดเดียว ทั่วประเทศจบไปเลย โดย 7 วิชาสามัญนี้แต่ละคณะจะสอบไม่เท่ากันนะครับ บางคณะก็สอบหมด 7 วิชา บางคณะก็สอบแค่ 3 ดังนั้น น้องๆ ต้องไปดูในระเบียบการรับตรงแต่ละมหาวิทยาลัย ว่าคณะที่เราจะเข้า เขาได้มากำหนดให้สอบวิชาไหน ส่วนมหาวิทยาลัยไหนไม่กำหนด ก็ไม่ต้องสอบจ้า

ใครต้องสมัครบ้าง

               คนที่สมัครได้คือ น้องๆ ม.6 ปวช. กศน. หรือพี่ๆ เด็กซิ่ว พ่อแม่ที่จบสูงกว่า ม.6 ขึ้นไปจ้า

มหาวิทยาลัยไหนต้องใช้คะแนน 7 วิชาสามัญนี้บ้าง
                 มีประมาณ 7 แห่งครับ ยกตัวอย่างเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะอักษรศาสตร์ - คณะนิติศาสตร์ - คณะเศรษฐศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะครุศาสตร์) มหาวิทยาลัยศิลปากร (คณะอักษรศาสตร์ - คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - คณะวิทยาการจัดการ - คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร - คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (คณะสหเวชศาสตร์) รับตรง กสพท. (คณะแพทยศาสตร์ - คณะทันตแพทยศาสตร์) และยังมีอีกหลายวิทยาลัยนะครับ น้องๆ อย่าลืมไปเช็คที่เว็บมหาวิทยาลัยนั้นๆ ด้วยนะ

7 วิชาสามัญกับเคลียริ่งเฮ้าส์ มันคืออันเดียวกันไหม

               คนละอันกันครับ พูดง่ายๆ ก็คือ 7 วิชาสามัญเป็นส่วนหนึ่งในระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ โดยยกตัวอย่างว่า ระบบ "เคลียริ่งเฮ้าส์" จะเป็นระบบที่เปิดให้น้องๆ มายืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาได้เพียงแค่ 1 คณะเท่านั้น เช่น พี่ลาเต้ วิ่งสอบรับตรงทั่วประเทศติดทั้งหมด 4 มหาวิทยาลัย โดย 4 มหาวิทยาลัยที่ติดนั้นเข้าร่วม "เคลียริ่งเฮ้าส์" ทั้งหมด พอถึงเวลาที่ยืนยันสิทธิ์ พี่ลาเต้ ก็เลือกได้แค่ 1 แห่งเท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 3 แห่งก็จะกลายเป็นที่นั่งว่าง และรับเพิ่มในรอบแอดมิชชั่นกลางต่อไป ซึ่งต่างจากปีก่อนๆ ที่หากสอบตรงติด 4 ที่ ก็ยืนยันสิทธิ์มัน 4 ที่ไปเลยก็ได้ จนอาจเป็นกักที่คนอื่นในที่สุด T^T ส่วน 7 วิชาสามัญ เป็นข้อสอบ 7 วิชาที่จัดสอบโดย สทศ. ออกมาเพื่อลดปัญหาการวิ่งรอกสอบของน้องๆ และลดภาระการจัดสอบของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นเอง

สมัครที่ไหน อย่างไร

              ขั้นตอนการสมัคร จะเหมือนกันกับสมัคร GAT PAT เลยครับ มีให้เลือกสนามสอบด้วยนะ ระบบจะเปิดให้สมัครตั้งแต่วันที่ 1 - 30 ตุลาคม 54 และสอบในต้นเดือนมกราคม 55 ส่วนค่าสมัครวิชาละ 100 บาทคร้าบ อ๋อๆ สนามที่ใช้สอบเบื้องต้นมี 4 ศูนย์นะครับ คือ กรุงเทพฯ (สนามสอบจุฬาฯ ธรรมศาสตร์) ขอนแก่น (ม.ขอนแก่น) เชียงใหม่ (ม.เชียงใหม่) พิษณุโลก (ม.นเรศวร) และสงขลา (มอ.หาดใหญ่) ซึ่งหากมียอดผู้สมัครมาก ทาง สทศ.อาจเพิ่มสนามสอบให้ครับ รอติดตามๆ ว่าแล้วก็ไปสมัครกันเลยที่เว็บ www.niets.or.th


สมัครแล้ว 7 วิชาสามัญ มันคืออะไร และคณะไหนต้องสอบ !!



ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2555 (สอบ ม.ค. 2555)


- คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่

- ฟิสิกส์ + เฉลย คลิกที่นี่

- เคมี + เฉลย คลิกที่นี่

- ชีววิทยา คลิกที่นี่

- ภาษาไทย คลิกที่นี่

- สังคมศึกษา คลิกที่นี่

- ภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่





ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2556 (สอบ ม.ค. 2556)


- คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่ + เฉลย ตอนที่ 1 คลิกที่นี่ ตอนที่ 2 คลิกที่นี่

- ฟิสิกส์ + เฉลย คลิกที่นี่

- เคมี คลิกที่นี่

- ชีววิทยา คลิกที่นี่

- ภาษาไทย คลิกที่นี่

- สังคมศึกษา คลิกที่นี่

- ภาษาอังกฤษ + เฉลย คลิกที่นี่


ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2557 (สอบ ม.ค. 2557)

- คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่

- ฟิสิกส์ คลิกที่นี่

- เคมี คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่

- ชีววิทยา คลิกที่นี่

- ภาษาไทย คลิกที่นี่

- สังคมศึกษา คลิกที่นี่

- ภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่



ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.dek-d.com/admission/26262/
ขอขอบคุณข้อสอบและเฉลยจาก : http://p-dome.com/7-w-55-57/